เมนู

พระอานนท์ เมื่อจะเปลื้องตนว่า ข้าพเจ้ามิใช่สยัมภู พระสูตรนี้
ข้าพเจ้ามิได้กระทำให้แจ้ง จึงแสดงพระสูตรทั้งสิ้นอันสมควรกล่าวในกาลบัดนี้
ว่า เอวมฺเม สุตํ คือว่า แม้ข้าพเจ้าก็สดับมาแล้วอย่างนี้ด้วย เอวํ ศัพท์
อันมีนิทัสสนะเป็นอรรถ.
พระอานนท์ เมื่อแสดงกำลังคือความทรงจำของตน อันสมควรแก่
ภาวะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญไว้ อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อานนท์นี้เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของเราผู้เป็นพหูสูต มีคติ
มีสติ มีความทรงจำ เป็นอุปัฏฐาก และท่านพระธรรมเสนาบดีกล่าวไว้อย่างนี้
ว่า ท่านพระอานนท์ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาด
ในนิรุตติ ฉลาดในคำเบื้องต้นและเบื้องปลาย ดังนี้ จึงให้ความประสงค์เพื่อ
จะสดับของสัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้น จึงกล่าวว่า เอวมฺเม สุตํ แปลว่า ข้าพเจ้า
สดับมาแล้วอย่างนี้ คำนั้นแล ไม่หย่อนไม่ยิ่งโดยอรรถหรือว่าโดยพยัญชนะ
อย่างนี้เท่านั้น ไม่ควรเห็นเป็นอย่างอื่น ด้วยศัพท์ว่า เอวํ อันมีอวธารณะเป็น
อรรถนี้.

ว่าด้วย เม ศัพท์



เม

ศัพท์ปรากฏในอรรถ 3 อย่าง. จริงอย่างนั้น เม ศัพท์ มีอรรถ
ว่า มยา เช่นในประโยคที่มีคำเป็นต้นว่า คาถาภิคีตมฺเม อโภชฺเนยฺยํ
แปลว่า โภชนะที่ได้มาเพราะการขับร้อง เราไม่ควรบริโภค. เม ศัพท์มี
อรรถว่า มยฺหํ เช่นในประโยคที่มีคำเเป็นต้นว่า สาธุ เม ภนฺเต ภควา
สงฺขิตฺเตน ธมฺมํ เทเสตุ
แปลว่า ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์เถิด เม ศัพท์มี
อรรถว่า มม เช่นในประโยคว่า ธมฺมทายาทา เม ภิกฺขเว ภวถ เป็นต้น

แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นธรรมทายาทของเรา แต่ในที่นี้
ควรใช้ในอรรถ 2 อย่างคือ มยา สุตํ แปลว่า ข้าพเจ้าสดับแล้ว และ
มม สุตํ แปลว่า การสดับของข้าพเจ้า.

ว่าด้วย สุต ศัพท์



สุต

ศัพท์ในบทว่า สุตํ นี้เป็นทั้งศัพท์มีอุปสรรคและไม้มีอุปสรรค
จำแนกอรรถได้มิใช่น้อย เช่นอรรถว่า การไป ว่าปรากฏแล้ว ว่ากำหนัด ว่า
สั่งสม ว่าขวนขวาย ว่าสัททารมณ์ ที่รู้ได้ด้วยโสต และรู้ตามแนวแห่งโสต
ทวารเป็นต้น. จริงอย่างนั้น สุต ศัพท์นี้มีอรรถว่าไป ในประโยคว่า เสนาย
ปสุโต
เป็นต้น แปลว่า เสนาเคลื่อนไป สุตศัพท์มีอรรถว่ามีธรรมอันปรากฏ
แล้ว ในประโยคว่า สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต เป็นต้น แปลว่ามีธรรมอันสดับ
แล้ว เห็นอยู่. สุตศัพท์มีอรรถว่า เปียกชุ่มด้วยราคะและไม่เปียกชุ่มด้วยราคะ
เช่นในประโยคว่า อวสฺสุตา อนวสฺสุตสฺส เป็นต้น แปลว่า ภิกษุณีกำหนัด
ยินดีแล้วต่อบุคคลผู้ไม่กำหนัดยินดีแล้ว. สุตศัพท์มีอรรถว่าสั่งสม ในประโยคว่า
ตุมฺเหหิ ปุญฺญํ ปสุตํ อนปฺปกํ เป็นต้น แปลว่า บุญมิใช่น้อย อันท่านทั้งหลาย
สั่งสมแล้ว. สุตศัพท์มีอรรถว่า ขวนขวายคือการประกอบเนืองๆ ในฌาน เช่น
ประโยคว่า เย ฌานปสุตา ธีรา เป็นต้น แปลว่า นักปราชญ์ทั้งหลายเหล่าใด
ขวนขวายแล้วในฌาน. สุตศัพท์มีอรรถว่า สัททารมณ์ อันบุคคลพึงรู้ด้วยโสต
เช่น ในประโยคว่า ทิฏฺฐํ สุตํ มุตํ เป็นต้น แปลว่า รูปอันเราเห็นแล้ว
เสียงอันเราฟังแล้ว หมวดสามแห่งธรรมอันเราทราบแล้ว.
สุต ศัพท์นี้ มีอรรถว่ารู้ตามแนวแห่งโสตทวาร และทรงจำตามที่ตน
รู้แล้ว ดังในประโยคว่า สุตธโร สุตสนฺนิจโย เป็นต้น แปลว่า ทรงไว้
ซึ่งสุตะ สั่งสมไว้ซึ่งสุตะ แต่ในที่นี้มีอรรถว่าเข้าไปทรงไว้แล้ว หรือว่า การ